สาระความรู้เกี่ยวกับรถกระเช้า

สิ่งที่ต้องระวังสำหรับงานติดตั้งไฟฟ้าโดยใช้รถกระเช้าโทเคน

■ เกี่ยวกับตัวกระเช้าไฟเบอร์

  1. ตัวกระเช้าประกอบไปด้วย 2 อย่าง 1.ไฟเบอร์ 2.เหล็ก ถึงแม้ว่าตัวกระเช้าไฟเบอร์ทำด้วยวัสดุทนต่อกระแสไฟฟ้า แต่ไม่สามารถสัมผัสหรือถูกสายไฟฟ้าได้โดยตรง
  2. ถึงแม้จะใช้กระเช้าไฟเบอร์ แต่ต้องมีระยะการทำงานห่างจากสายไฟอย่างน้อย 3 เมตร หรือจะต้องใช้ไม้ดึงหม้อแปลงเพื่อตัดไฟก่อนเริ่มการทำงาน
  3. เมื่อเข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง อาจจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ห้ามเข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง

■ เกี่ยวกับสายดิน

  1. โดยทั่วไป กระแสไฟจะวิ่งเข้าตัวกระเช้าตลอดเวลา เมื่อพนักงานสัมผัสตัวรถอาจจะโดนไฟฟ้าสถิตได้
  2. ควรติดตั้งสายดิน เพื่อระบายกระแสไฟฟ้าจากตัวรถลงสู่ดิน จะติดตั้งส่วนไหนของตัวรถก็ได้

※ดังนั้นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากไฟดูด ทางโทเคนไม่สามารถรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

วิธีเอาผ้าคลุมล้อรถกระเช้าไฟฟ้า

■ การใช้บูมลิฟท์หรือลิฟท์กรรไกรในบางสถานที่

  1. ตัดความยาวผ้าใบ2.5ม.
  2. เตรียมเชือก 2 เส้น ความยาว 3.5 ม. พับให้เป็น 3 ส่วน กว้าง 60 ซม.
  3. ขับรถให้ล้อมาตำแหน่งตรงกลางของผ้าใบ. ตำแหน่งตรงกลางตามรูป.
  4. นำผ้าใบมาคลุมล้อ เจาะรูที่ผ้าใบเพื่อให้สามารถรอยเชือกได้
  5. นำเชือกมาร้อยตามรูที่เจาะไว้มัดให้แน่นให้เป็นรูปดาว ด้านหลังให้มัดหลวมๆเพื่อไม่ให้ล้อเสียดสีผ้าใบ

การใช้ Boom & Scissors Lift อย่างปลอดภัย

■ การใช้งาน Boom & Scissors Lift

ลิฟต์บูมและลิฟท์กรรไกรถูกออกแบบมาให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการใช้ตามสถานที่ก่อสร้างทั่วโลก แต่ในทางกลับกันก็มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวนมาก ทางโทเคนจึงแนะนำให้ลูกค้าอ่านคู่มือความปลอดภัยนี้อย่างละเอียดก่อนเริ่มใช้งาน

■ ข้อห้ามในการใช้งาน Boom & Scissors Lift

  1. ห้ามยกลิฟต์กระเช้าในขณะที่อยู่ในทางลาดเอียง
  2. ห้ามใช้ลิฟต์กระเช้าในขณะมีลมกรรโชกแรง
  3. ห้ามเคลื่อนที่ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมขณะยกลิฟต์อยู่
  4. ห้ามบรรทุกสิ่งของที่ยื่นออกนอกกระเช้าหรือใช้แทนเครน
  5. ห้ามบรรทุกเกินน้ำหนัก (227กิโลกรัม)
  6. ห้ามปีนตัวลิฟต์กระเช้า หรือปีนออกนอกกระเช้า
  7. ห้ามทำงานใกล้สายไฟ
  8. ต้องทำงานห่างจากสายไฟอย่างน้อย 3 เมตร

การจอดรถกระเช้าบนพื้นที่ลาดชัน

■ พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดตำแหน่งรถบนทางลาดเอียง

ในการจอดรถกระเช้าบนพื้นลาดเอียง จำเป็นจะต้องจัดดูตำแหน่งให้รถจอดขนานกับพื้นราบเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากรถไหล ดังนั้นเมื่อทำงานบนทางลาดเอียงควรต้องเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดตำแหน่งรถบนทางลาดเอียง รวมทั้งวิธีการตั้งและการจัดเก็บขาช้างให้เข้าใจเสียก่อน

■ ขั้นตอนการจอดรถกระเช้าบนพื้นที่ลาดชัน

  1. หันหัวรถลงกับทางลาดชันที่ต่ำกว่า เมื่อได้ระดับแล้วให้ปลดเกียร์ว่างดึงเบรกมือและดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ
  2. ควรตั้งขาช้างข้างหน้าก่อนทุกครั้งและควรที่จะให้ล้อหลังแตะพื้นถนน ถ้าหากขาช้างข้างหน้าสูงไม่พอให้นำแผ่นรองขาช้างมาเสริมให้สูงได้
  3. เมื่อเสร็จงานแล้วจะเก็บขาช้างให้ดำเนินการเก็บจากด้านหลังก่อนทุกครั้งแล้วค่อยเก็บด้านหน้าที่หลังเพราะหากเก็บด้านหน้าก่อนอาจเกิดอุบัติเหตุได้

เซฟตี้- เรื่องความปลอดภัย

■ ความปลอดภัยในสถานที่ใช้งาน

สำหรับการทำงานทางกลางแจ้งจำเป็นต้องคำนึงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในสถานที่ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น พายุ ลมพัดแรง ฝนตกหนัก ฟ้าผ่า พื้นดินยุบตัว หรือการมีสิ่งกีดขวางอื่นๆ เช่น สายไฟฟ้า ยานพาหนะอื่นๆ ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจึงควรมีความรู้ด้านความปลอดภัยอย่างละเอียดก่อนการใช้งาน

■ หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ

  1. ของตกจากที่สูงทำให้พื้นข้างล่างเสียหาย
  2. เข้าใกล้สายไฟแรงสูงเกิน 3 เมตร
  3. ดินนิ่มหรือไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักได้
  4. มีลมแรงหรือพายุ
  5. ฟ้าแลบฟ้าร้องหรือฟ้าผ่า
  6. ฝนตกหนัก
  7. บรรทุกเกิน 200 กิโลกรัม
  8. ปีนป่ายจากตัวกระเช้าออกไป
  9. เข้าไปที่แคบหรือเตี้ยกว่าขนาดของรถ
  10. ฝาท่อคอนกรีตไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักรถ
  11. สนามหญ้าอาจเกิดรอยของล้อได้
  12. ฝาท่อที่ทำจากพลาสติกอาจจะแตกได้
  13. สะพานไม่แข็งแรงอาจเกิดการหักได้
  14. ทางวิ่งที่ขรุขระอาจทำให้ยางแตกหรือรั่วได้
  15. ใช้รถกระเช้ายกของแทนเครน

Skymaster-วิธีการใช้รถกระเช้า

■ ขั้นตอนการใช้งานรถกระเช้า Skymaster

  1. เกียร์ฝาก(PTO) เวลาขับรถจะต้องปิดไม่เช่นนั้นไฮโดลิคจะระเบิด
  2. ควรเช็คเกียร์ฝากทุกครั้งว่าทำงานหรือเปล่า
  3. เวลาจะกางขาช้างให้กางขาช้างข้างซ้ายและขวาแยกกันทีละฝั่ง
  4. เมื่อกางขาช้างแล้วควรใช้แผ่นรองทุกครั้ง
  5. เวลาดึงเบรคมือยางหลังถูกล๊อคยางหน้ายังสามารถขยับได้ควรตั้งขาช้างข้างหน้าก่อน
  6. เวลาตั้งขาช้างให้เช็คดูว่ามีไฟกระพริบรึเปล่าถ้ามีจะไม่สามารถบังคับขาช้างได้
  7. ยกบูม,ยืดบูมและสวิงบูมสุดท้ายเวลาเก็บให้หดบูม,สวิงบูมและลดบูม
  8. ถ้าเกิดเหตุการณ์อันตรายให้กดปุ่มสีแดงถ้าลืมเปิดจะสตาร์ทไม่ติด
  9. กรณีที่เครื่องเสียให้ใช้มอเตอร์สำรองเก็บบูมสามารถใช้ได้ 15 วินาที ไม่เช่นนั้นอาจเกิดไฟไหม้ได้
  10. ถ้าเก็บบูมไม่เรียบร้อยจะไม่สามารถเก็บขาช้างได้
  11. หน้ารถน้ำหนักจะเยอะกว่าข้างหลังรถเวลาทำงานควรสวิงบูมไปทำด้านหลัง
  12. เวลาเก็บขาช้างให้เก็บจากข้างหลังก่อนแล้วค่อยเก็บด้านหน้าทีหลัง